วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

ผ้าบาติก

                                                                                                                                                                 

แหล่งเรียนรู้ผ้าบาติก

 
 
 
 
 
แหล่งเรียนรู้ผ้าบาติก
 
นำเสนอ
 
อาจารย์  ศุภสัณห์   แก้วสำราญ
 
จัดทำโดย
 
นางสาว วันวิสาข์ ภูฆัง
ม.6/8   เลขที่ 3
 
โรงเรียน  เมืองกระบี่
 
 
ผ้าบาติก
 
 

ประวัติความเป็นมา

       ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีการทำ โดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้มระบายสี หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอน การปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบๆครั้งส่วนผ้าบาติก อย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน แล้วจึงนำไปย้อมสี ที่ต้องการ คำว่าบาติก {Batik} หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า “ติก” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติก จึงมีความหมายว่า เป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ แม้ว่าการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติก ก็คือจะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก



วัสดุอุปกรณ์

 
๑. ผ้ามัสลิน ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย
๒. สีบาติก
๓. เตาไฟฟ้า
๔. กะทะไฟฟ้า
๕. กรอบไม้บาติก
๖. โซเดียมซิลิเกท (เคลือบสี)
๗. หม้อต้มน้ำ
๘. เทียนขี้ผึ้งผสมพาราฟินสำเร็จ
๙. ลายผ้าบาติก
๑๐. ผงซักฟอก
๑๑. ปากกาเดินเทียน (จันติ้ง)
๑๒. แปรงทาสีขนาด ๑ นิ้ว



ขั้นตอนและวิธีการทำ



ขั้นตอนที่ ๑ นำผ้าที่ทำความสะอาดแล้ว นำมาขึงให้ตึงกับกรอบไม้บาติก โดยวิธีการขลิบผ้าแล้วเขียนลาย เขียนลวดลาย หรือภาพที่ต้องการ ลงบนผ้า ที่เตรียมไว้ ด้วยดินสอ 2 Bขึ้นไป
ขั้นตอนที่ ๒ ใช้น้ำเทียนที่ตั้งไฟจนละลาย มาทาบนเฟรมแล้วนำผ้ามาวางขึงบนเฟรมให้ตึง น้ำเทียนจะเป็นตัวจับผ้ากับเฟรม ขูดผ้าบริเวณขอบเฟรมด้วยเหรียญ หรือด้ามช้อน เพื่อให้ผ้าจับกับเฟรมแน่นขึ้น
ขั้นตอนที่ ๓ จู่มชานติ้งในน้ำเทียนให้ชานติ้งร้อน เดินเทียนขณะที่เทียนอุ่นกำลังดี เขียนเส้นที่ต้องการ เส้นเทียนไม่ควรใหญ่เกิน 2 –3 ม.ม. ควรถือกระดาษทิชชูไว้รอง เพื่อป้องกันการหยดของน้ำเทียนขณะเขียนลาย เพราะถ้าน้ำเทียนหยดใส่ตรงจุดใดแล้วสีจะไม่ติด เวลาวาดเส้นเทียน ถ้าเส้นเทียนเริ่มเล็กลง และเป็นสีขุ่นแสดงว่าเทียนเริ่มแข็งจะไม่ซึมเข้าเนื้อผ้า ให้รีบขูดออกแล้ววาดใหม่ ไม่เช่นนั้นเวลาลงสี สีจะซึมออกนอกขอบเทียน
ขั้นตอนที่ ๔ ผสมสีตามอัตราส่วนเข้มมาก เข้มน้อย และสีแต่ละแบบ ระบายสีตามลาย ส่วนไหนจะให้สีกลมกลืนกันให้ใช้ปลายนิ้วไล่สีไป – มาให้กลมกลืนกันก่อนระบายสีควรระบายน้ำที่ผืนผ้าก่อน ถ้าผ้ามีน้ำแฉะมากเกินไปให้ซับด้วยกระดาษทิชชู เวลาจะระบายสี ให้ระบายจากส่วนริมก่อน หรือตามแนวลูกศรของลาย เพราะบางลายต้องการไล่สีจากเข้มไปหาอ่อน หรือส่วนขอบเข้าหาตรงกลางเสมอ (การระบายน้ำบนผ้าก่อน เพื่อเวลาระบายสีจะได้ไม่เป็นคราบสีเข้มตรงขอบลาย) ระบายพื้น เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผึ่งให้สีแห้ง
ขั้นตอนที่ ๕ ทาน้ำยากันสีตก ทาโซเดียมซิลิเกต ให้ทั่วลายที่ลงสีไว้ (ถ้าโซเดียมซิลิเกตข้นเกินไปให้ผสมน้ำได้เล็กน้อย แล้วคนให้เข้ากัน) ผึ่งให้โซเดียมซิลิเกตแห้งหรือประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง เวลาผึ่งผ้าเพื่อรอให้สีหรือโซเดียมซิลิเกตแห้ง ต้องผึ่งผ้าให้ราบกับพื้น อย่าตั้งขึ้นหรือตะแคงเป็นอันขาดเพราะสีจะไหลซึมเข้าหากัน
ขั้นตอนที่ ๖ ละลายเทียนออก นำผ้าที่ลงโซเดียมซิลิเกตจนแห้งแล้วไปซักทำความสะอาดให้สีและโซเดียมซิลิเกตออก แล้วต้มให้เทียนออก ซักกับผงซักฟอก แล้วซักในน้ำเปล่าให้สะอาด นำไปผึ่ง รีดให้เรียบร้อย การออกแบบลายผ้า



การออกแบบลายผ้าบาติก
 

 


     เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการทำผ้าบาติก ผ้าจะมีคุณค่ามีความสวยงาม มีราคาสูง ดูแล้วน่าใช้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการออกแบบลายที่มีลักษณะแตกต่างกัน มีเทคนิคในการผลิตซึ่งมี 2 ลักษณะคือ การออกบาติกแบบลายพิมพ์ และการออกแบบบาติกลายเขียน
1. การออกแบบบาติกลายพิมพ์ คือ ลายที่มีลักษณะเฉพาะที่สามารถนำมาพิมพ์ต่อกันให้มีความต่อเนื่องกันระหว่างลายแต่ละชิ้น ลักษณะการจัดองค์ประกอบของลายพิมพ์นี้ควรให้ตัวลายอยู่ภายในโครงสร้างของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจตุรัส ที่นิยมใช้กันทั่วไป มี 4 ชนิด คือ
•แม่พิมพ์โลหะ เป็นแม่พิมพ์ลายเส้นที่แสดงรายละเอียดชัดเจน การออกแบบสำหรับการพิมพ์โดยทั่วไปมักจะออกเป็นชุดมีแม่พิมพ์ 2-3 อัน คือ แม่พิมพ์ลายเส้น แม่พิมพ์ปิด และแม่พิมพ์เก็บสีพื้นเพื่อย้อมสีที่ 2 ต่อไป
•แม่พิมพ์ไม้ เป็นแม่พิมพ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นๆไม่สามารถแสดงเรื่องราว และรายละเอียดลักษณะเป็นลายเส้นโตๆลายที่เกิดขึ้นจะได้สีขาว คือ เกิดจากรอยเทียนจาก แม่พิมพ์ และพื้นเป็นสีย้อม •แม่พิมพ์เชือก เป็นลวดลายที่ไม่มีรายละเอียดเป็นลักษณะลายเส้น เมื่อพิมพ์เทียนแล้วนำไปย้อม แล้วพิมพ์เทียนซ้ำเพื่อเก็บสีเดิมไว้ลักษณะลายจะแสดงให้เห็นลายพื้นของผิวแม่พิมพ์ (TEXTURE) จากรอยแม่พิมพ์เชือก
•แม่พิมพ์พลาสติก ทำจากพลาสติกแผ่นบางใสสีเขียวฉลุลายพลาสติกให้สวยงามทำลวดลายบนผ้าเหมือนๆกันได้เป็นชุดหลายผืนอาจเรียกได้ว่า สเตลซิล แผ่นหนึ่งจะลงเทียนได้ 40 - 50 ครั้ง
 2. การออกแบบบาติกลายเขียน โดยส่วนใหญ่จะออกแบบลงบนกระดาษก่อนการลอกลายลงบนผ้าด้วยดินสอสีเพื่อนำไปเขียนด้วยจันติ้ง บาติกลายเขียนนี้จะออกแบบลายเพียงครั้งเดียวไม่นิยมทำซ้ำ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละลาย ถ้ามีการทำซ้ำกัน จะทำให้คุณค่าของลวดลายนั้นลดลง การเขียนลายผู้เขียนสามารถเลือกขนาดของจันติ้ง ให้เหมาะกับจุดประสงค์ และต้องการของผู้ออกแบบเอง การออกแบบบาติกลายพิมพ์ และบาติกลายเขียน มี 4 ลักษณะดังนี้
•ลายเรขาคณิต การออกลายเส้นรูปทรงเรขาคณิตนี้ ควรควบคู่ไปกับเทคนิคการย้อมสี และรอยแตกของเทียน เหมาะสำหรับงานจิตรกรรมเทคนิคบาติกเพื่อประดับผนัง
•ลายดัดแปลงจากลายธรรมชาติ เป็นลวดลายที่มีความนุ่มนวลลักษณะลายที่มีการลื่นไหล •ลายไทย และลายเครือเถา นิยมเขียนบนผ้าไหม
•ลายภาพสัตว์ มี 2 ลักษณะ คือ
◦รูปทรงไม่เหมือนธรรมชาติ เช่น ภาพฉากกั้นห้อง ลักษณะกึ่ง นามธรรม
◦ภาพสัตว์ที่เป็นเรื่องราว เช่น วรรณกรรม วรรณคดี มักใช้กับงาน จิตรกรรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น